Deprecated: class-phpmailer.php is deprecated since version 5.5.0! Use wp-includes/PHPMailer/PHPMailer.php instead. The PHPMailer class has been moved to wp-includes/PHPMailer subdirectory and now uses the PHPMailer\PHPMailer namespace. in /var/www/vhosts/citytoysmarketing.com/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 5404

Notice: Undefined property: stdClass::$items in /var/www/vhosts/citytoysmarketing.com/httpdocs/wp-content/plugins/timetable/shortcode-timetable.php on line 1426

Notice: wpdb::prepare นั้นถูกเรียก อย่างไม่ถูกต้อง การสืบค้นไม่มีจำนวนที่ถูกต้องของข้อความตัวอย่าง (2) สำหรับจำนวนของอาร์กิวเมนต์ที่ส่งผ่าน (3) โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม! (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 4.8.3.) in /var/www/vhosts/citytoysmarketing.com/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 5666
เสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กด้วยบล๊อกต่อ – CityToys

เสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กด้วยบล๊อกต่อ

บล็อกตัวต่อมีประโยชน์สำหรับเด็กไม่แพ้วิตามินรวม เวลาที่เด็กเล่นบล็อกตัวต่อ ไม่ใช่แค่การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่านั้น หากแต่พวกเขากำลังเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปจน ถึงการแก้ปัญหาด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงขนาดว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เล่นบล็อกตัวต่อ จนชำนาญจะมีผลการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าและทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ เล่นบล็อกตัวต่อเมื่อพวกเขาเข้าเรียนโรงเรียนปฐม อย่างเช่นที่ ชารอน แม็คโดนัลด์ ผู้ฝึกสอนครูเด็กก่อนวัยเรียนและผู้แต่งหนังสือ Block Play (สำนักพิมพ์ กริฟอน เฮาส์) ได้อธิบายไว้ว่า “เมื่อเด็กเล่นบล็อกตัวต่อ เขาจะพัฒนาความเข้าใจเรื่องเศษส่วน รูปทรง และการนับไปในตัว” แน่นอนแน่นอนว่าเขาคงไม่รู้เรื่องเศษหนึ่งส่วนสองหรือเศษหนึ่งส่วนสี่ ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ ความสามารถทางคณิตศาสตร์จะพัฒนาไปทีละขั้นตามวัยของเด็ก

สามขั้นของการเล่นบล็อกตัวต่อ

ในระยะแรกของการเล่นบล็อกตัวต่อ ชารอนเรียกระยะนี้ว่า “ระยะถือไปถือมา” ลูกน้อยวัย 2 ขวบจะต่อตัวต่อได้น้อยมากหรือไม่ได้ต่อเลย แต่เขาสามารถนำตัวต่อมากองรวมกัน ผลักและโยนเล่นได้ และต่อไปเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำหนัก ความมั่นคง และความสมดุล แน่นอนว่าบทเรียนที่เด็กวัยหัดเดินชอบมากที่สุด ก็คือการเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้เกิดเสียงดังที่สุดและวุ่นวาย ที่สุด เด็กวัยหัดเดินจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากอารมณ์เกรี้ยวกราดของพี่ๆ ว่า เวลาที่โยนอะไรขึ้นไป มันต้องตกลงมา และเวลาที่เขาพังบล็อกตัวต่อให้ล้มลง ผลที่ได้ก็น่าตื่นเต้นสำหรับเขาเป็นที่สุด “เด็กๆ ชอบเล่นก่อสร้างให้เป็นระเบียบ แต่เด็กเล็กๆ ชอบสร้างความวุ่นวายมากกว่า” ชารอนกล่าว “แค่วางบล็อกตัวต่อชิ้นนึงบนอีกชิ้นหนึ่งแค่นั้น พวกเขาก็ได้เรียนรู้แล้วว่าว่าของที่วางอย่างไม่มั่นคงจะร่วงลงมา แต่ถ้าวางอย่างมั่นคง ก็จะไม่ร่วง ”

เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ เขาจะเข้าสู่ระยะการเล่นบล็อกตัวต่ออีกขั้นที่เรียกว่า “ระยะตั้งเป็นกองและเรียงเป็นแถว” คราวนี้เขาจะสามารถเรียงบล็อกตัวต่อเป็นกองๆ หรือจัดวางในแนวนอนได้ เขาจะเล่นก่อสร้างโดยยังไม่มีจุดประสงค์เฉพาะ แต่เขาจะเริ่มวางเรียงบล็อกตัวต่อเป็นแพทเทิร์น แพทเทิร์นแรกๆ มักจะเป็นการวางบล็อกตัวต่อเรียงต่อกันทีละชิ้นๆ บนพื้น จนกระทั่งเขาเริ่มดัดแปลงรูปร่าง เช่น วางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกอันหนึ่งตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอัน ถัดไปและวางต่อไปเรื่อยๆ “คณิตศาสตร์คือการศึกษารูปแบบ” ชารอนกล่าว “และการกระตุ้นให้เขาวางบล็อกเป็นแพทเทิร์นจะช่วยวางพื้นฐานทักษะทาง คณิตศาสตร์ให้เขา” ซึ่งจะเป็นการนำทฤษฎีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเล่น เมื่อเขาวางบล็อกตัวต่อสองอันไว้ข้างๆ กัน เธอก็จะเห็นว่าพอเอามารวมกันแล้ว มันจะกลายเป็นบล็อกตัวใหญ่ขึ้นแต่มีรูปร่างและขนาดเท่าเดิม

ในระยะถัดไปเรียกว่า “ระยะก่อร่างสร้างตัว” ลูก น้อยก่อนวัยเรียนของคุณจะเริ่มก่อสร้างแบบง่ายๆ ของเขาเอง เขาอาจวางบล็อกตัวต่อสองชิ้นไว้คู่กัน จากนั้นวางบล็อกชิ้นที่สามซ้อนทับสองชิ้นแรก นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่เขาเรียนรู้เรื่องความสมดุล เขาจะเริ่มทดลองเรื่องความสมมาตรไปในตัว การเชื่อมนำไปสู่ “การปิดล้อม” เราจะไม่สามารถก่อสร้างได้ หากไม่จัดระบบและปิดล้อมพื้นที่ ”เราจะเติมช่องว่างนั้นยังไงดีนะ” คำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อนที่ลูกน้อยของคุณต้องคิดหาทางออกว่าต้องใช้บล็อกอัน เล็กและอันใหญ่กี่ชิ้นถึงจะปิดช่องว่างนั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยไม่ได้รู้จักวางแผนล่วงหน้าเท่านั้น แต่เขายังรู้จักการแก้ปัญหาด้วย

ขอบคุณบทความจาก: http://mamababycare.blogspot.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *